วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

วงบอยไทย


"บอยไทย" เป็นวงดนตรีวงที่สองในสังกัดของบริษัทไพซิสมิวสิคต่อจากวง "กังสดาล" โดยการริเริ่มของคุณอัมพร จักกะพาก ผู้มีประสบการณ์อันยาวนานในการจัดแสดงดนตรีระดับชาติ อีกทั้งเป็นนักวิจารณ์นามปากกา "สีลม" ที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักฟังเพลง คุณอัมพรมีวัตถุประสงค์จะให้ไพซิสมิวสิคเป็นหน่วยงานเอกชนอิสระที่จะเผยแพร่ดนตรีไทยในประเทศ และต่างประเทศ และเพื่อสนับสนุนนักดนตรีอาวุโสให้ถ่ายทอดวิชาความรู้ไปจนถึงสร้างนักดนตรีไทยรุ่นใหม่เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพดนตรีไทย

ในปี พ.ศ. 2532 คุณอัมพรได้ริเริ่มตั้งวงกังสดาลโดยเชิญคุณครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ (ซึ่งต่อมาได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติปี 2536) มาเป็นผู้ควบคุมวงร่วมกับนักดนตรีปี่พาทย์รุ่นใหม่ฝีมือดีจากบ้านปี่พาทย์ครูสุพจน์ โตสง่า ซึ่งเป็นตระกูลดนตรีไทยที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษในด้านระนาดเอกมาช้านาน

ต่อมาในปี พ.ศ.2536 หลังจากที่นักดนตรีรุ่นใหม่ในวงกังสดาลได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการไปแสดงดนตรีต่างประเทศหลายครั้งเช่นที่ คานาดา ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ จึงมีความคิดที่จะฟื้นฟูดนตรีไทยให้กลับมาสู่สังคมไทยในปัจจุบันอีกครั้ง จึงมีการรวบรวมตัวกันระหว่างนักดนตรีทั้งฝ่ายไทยและสากล เพื่อนำสิ่งดี ๆ จากดนตรีทั้งสองขั้วมาประยุกต์เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ และบรรยากาศใหม่ให้กับวงการดนตรีไทย

วงบอยไทยมีผลงานออกมาแล้วทั้งหมด 3 ชุด


ทั้ง 3 อัลบั้มเป็นการนำเครื่องดนตรีปี่พาทย์มาพัฒนาการเล่น และการนำเสนอให้ทันสมัย และผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากลนับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บอยไทยสามารถลบล้างทัศนคติเดิม ๆ ที่คนเคยคิดเกี่ยวกับดนตรีไทยว่า "เชย" และ "น่าเบื่อ" ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ผลงานชุดแรกของวงบอยไทย ที่สร้างความ อือฮาให้กับวงการเพลงในบ้านเรานั้น ชื่อ SIMES SAMBA ในปี 2538 ภาพลักษณ์ความชัดเจนของ ดนตรีไทยคือ เครื่องดนตรี "ระนาดเอก" ที่เป็นหลัก และในปีนั้น ผลงานของวงบอยไทยได้ฉีกแนวสวน กระแสทางกลับของดนตรีส่วนใหญ่ในเมืองไทยและ วงบอยไทยก็ประกาศความสำเร็จ ด้วยการคว้า รางวัล สีสันอวอร์ด ( SEASON AWARDS ) ประเภทเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมจาก เพลง A DAY ON THE SODOE ISLAND
ปี พ.ศ. 2541 วงบอยไทยได้ออกผลงานชุด ANDAMAN SUN ออกมาให้คนไทยได้ฟังอีก ด้วย ความชัดเจนของดนตรีผสมผสานกับดนตรีตะวันตก ทำให้อัลบั้มชุดนี้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและในวงการ โฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะได้นำเพลงหลาย เพลงของวงบอยไทยไปออกเป็น SOUND ประกอบ รายการ และ SPOT โฆษณาหลาย ๆ ผลงาน เช่น เพลง BURMESE SALSA และเพลง ANDAMAN

หลังจากเงียบหายไป 2 ปี วงบอยไทยได้ กลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้ง กับอัลบั้ม SPICY BRAZIL ซึ่งกลุ่มผู้ฟังต่างเฝ้ารอดูการพัฒนาการ ของดนตรีอีกครั้ง และการออกอัลบั้มใหม่ชุดนี้ก็ไม่ ทำให้คนฟังผิดหวัง เมื่อเพลง TATOKUในอัลบั้มชุด นี้ก็การันตีถึงการพัฒนาของเพลงโดยการคว้าราง วัลสีสันอวอร์ด ( SEASON AWARDS ) อีกครั้ง

หลายเพลงใน 3 ชุดนี้ได้ถูกนำเผยแพร่สร้างชื่อเสียงในต่างประเทศหลายครั้ง จวบจนปัจจุบัน อีกทั้งได้รับเกียรติและความนิยมสูงสุด และอย่างไม่เสื่อมคลาย กล่าวคือ ถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบงานเผยแพร่ภาพลักษณ์ไทยทั้งในและต่างประเทศ เป็นเพลงประกอบการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเมืองไทย การท่องเที่ยวไทย เป็นเพลงประกอบการแสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย เป็นเพลงประกอบการสร้างบรรยากาศความเป็นไทยร่วมสมัยในงาน หรือ พิธีการต่าง ๆ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องแสดงถึงคุณค่าของงานเพลงดนตรีไทยร่วมสมัยในนาม "บอยไทย"

ตั้งแต่ปี 2544 เศกพล อุ่นสำราญ สมาชิกรุ่นก่อตั้งได้กลับมาร่วมงานกับวงบอยไทยอีกครั้ง โดยพกพาประสบการณ์มาเต็มเปี่ยมจากการร่วมงานกับศิลปินดัง ๆ มากมายในหลากหลายสไตล์เช่น "อินฟินิตี้" "บางกอกคอนเน็คชั่น" "ทีโบน" จนพร้อมที่จะมีผลงานของตัวเองชุดแรกในชื่อ "Mr. Saxman" ในปีพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นอัลบั้มแนวใหม่ที่มีกระแสตอบรับอย่างชื่นชม จนทำให้ฉายา "โก้ มิสเตอร์แซกแมน" เป็นที่รู้จักในฐานะมือแซ็กโซโฟนอันดับหนึ่งของประเทศไทย

อีกหนึ่งสมาชิกวงบอยไทยรุ่นก่อตั้งคนสำคัญที่ได้กลับมาร่วมงานกับทีมก็คือ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า ซึ่งต่อมาได้เป็นที่รู้จักและชื่นชมกันทั่วประเทศจาบท "ขุนอิน" ในภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" ทีมบอยไทยชุดปัจจุบันจึงมีความแข็งแกร่งด้วยประสบการ์ณของสมาชิกรุ่นก่อตั้ง ซึ่งเป็นสุดยอดฝีมือของทั้งดนตรีแจ๊ส และดนตรีไทย เสริมทัพด้วยนักดนตรีรุ่นใหม่ไฟแรงที่มาร่วมสืบสานอุดมการณ์ "บอยไทย" เพื่อให้ดนตรีไทยคงอยู่ตลอดไป

ปัจจุบัน "วงบอยไทย" เล่นอยู่ที่ร้าน โรงนาบางกอก THE MUSIC BARN ( สี่แยกเหม่งจ๋าย )



“Boy Thai….Live”



บันทึกการแสดงสดชุดแรกของวงบอยไทย เพื่อเป็นการต้อนรับของการกลับมาพบกันอีกครั้งของสองสมาชิกวงบอยไทยรุ่นก่อตั้ง เศกพล อุ่นสำราญ(โก้ มิสเตอร์แซ็กแมน) และณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า (ขุนอินแห่งภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง”) ท่านที่เคยชื่นชมผลงานของวงบอยไทยมาแล้ว นี่คืออรรถรสร่วมสมัยอีกมิติหนึ่ง ในบรรยากาศการแสดงสดครั้งแรกของวงบอยไทย เพลงเด่น : “เดี่ยวระนาดเพลงลาวแพนฉบับสมบูรณ์สุดฝีมือจากขุนอิน

“คอนเสิร์ตครั้งนี้ ขุนอินโชว์ลูกใหม่ไม่ได้ตีเลียดไปกับผืน แต่ตีโด่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนคนดูระทึกใจเมื่อ เห็นหัวไม้ระนาดหุ้มทองพุ่งขึ้นเหมือนกับไฟลุกที่ผืนระนาดจริงๆ โดยไม่ต้องใช้เทคนิคภาพยนตร์ช่วยเลย

track list:
1.Siamese Samba
2.ลาวดวงเดือน
3.เดี่ยวระนาดเอก
4.เพลงลาวแพน
5.พม่ากลองยาว
อัลบัมนี้ที่เคย upload ไว้ตายแล้ว ยังไม่ได้ทำใหม่เลยค่ะ ^_^ อดใจรอก่อนนะคะ

อันนี้จิ๊กของคนอื่นที่อัพไว้มาฝากไปพลางๆ ก่อน

Seven Drums

Spicy Brazil

The Third Hunter

Siamese Samba

Burmese Salsa

Burmese Long Drums

เพลงที่รวบรวมได้มาจากหลายๆ ที่ มันก็เลยปนๆ กันมีดังนี้นะคะ
- A Day on Sad island
- Andaman Sun
- Bat eats banana
- Burmese Long Drums
- Burmese Salsa
- Calypso
- GO-GO Rap
- J.J. Cha Cha Cha
- Lao Damnern Sai
- SevenDrums
- Siamese Samba
- Spicy Brazil
- The Third Hunter
เชิญหยิบไปฟังที่นี่ คุณภาพก็จะคละ bitrate นิดนึงนะคะ ^_^

รูปปกอัลบัมรวมต่างๆ

2 ความคิดเห็น:

  1. ผมหามานานแล้ว ชอบมากกว่า ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. เจ๋งครับ
    อยากจะแชร์บ้าง
    กำลังหัดอัปอยู่ครับ
    ขอบคุณมากๆเลยครับ

    ตอบลบ