วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

[Orchrestra, 4 Albums] โครงการบันทึกเสียงเพลงประจำชาติ

วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย
(Thailand Philharmonic Orchestra, TPO)
ภูมิใจเสนอ
“ โครงการบันทึกเสียงเพลงประจำชาติ ”
โดยวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย
อำนวยเพลงโดย Gudni A. Emilsson


วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra, TPO) เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ บรรเลงเพลงคลาสสิก ได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งวงดุริยางค์อาชีพขึ้น ในประเทศไทย บรรเลงรองรับงานศิลปวัฒนธรรมระดับชาติ และระดับนานาชาติ

วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (TPO) เป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาดนตรีและอาชีพดนตรี เพื่อให้นักเรียนดนตรีและนักดนตรีอาชีพ ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีหลักชัย และมีความภาคภูมิใจในอาชีพ

วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (TPO) บริหารจัดการดูแลรับผิดชอบและดำเนินงาน โดย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล วงดนตรีได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล


โครงการบันทึกเสียงเพลงประจำชาติ ซีดี บันทึกเสียงเพลงสำคัญของชาวสยาม เพลงเกียรติยศ ร้อง
เพลงพระราชนิพนธ์ TPO วงดุริยางค์ฟิลฮาโมนิกแห่งประเทศไทย





________________________________________________________________________________



All File: Mp3, 320 kbps, ZIP





โครงการบันทึกเสียงเพลงประจำชาติ " ชุดราชสำนัก"

๑. บุหลันลอยเลื่อน (Bulan Loi Luen) ๐๘.๐๐
๒. ราตรีประดับดาว (Ratri Pradap Dao) ๐๖.๑๓
๓. คลื่นกระทบฝั่ง (Kluen Krathop Fang) ๑๐.๒๒
๔. ลาวดวงเดือน (Lao Duang Duen) ๐๘.๒๐
๕. กฤษดาภินิหาร (Krisda-Piniharn) ๐๖.๒๖
๖. เขมรลออองค์ (Khamen La-or Ong) ๐๖.๕๙
๗. โหมโรงขวัญเมือง (Kwan Muang Overture) ๑๐.๑๕

หยิบไปฟังได้ที่นี่
Rapidshare
Mediafire






โครงการบันทึกเสียงเพลงประจำชาติ " ชุดเพลงพื้นบ้าน"

๑. พม่าเขว (Pha-ma Kwe) ๐๙.๒๔
๒. เพลงพื้นเมืองภาคเหนือ (Northern Selection) ๐๖.๔๕
๓. เพลงพื้นบ้านอีสาน (Sound of E-San) ๐๗.๔๖
๔. เพลงพื้นบ้านภาคใต้ (Southern Folksongs Suite) ๐๘.๐๓
๕. นกเขามาระปี (Nok Kao Marapee) ๐๖.๕๙
๖. ร็องเง็ง (Rong Ngeng) ๐๖.๔๐
๗. ค้างคาวกินกล้วย (Kang-kao kin kluay) ๑๐.๔๙

หยิบไปฟังได้ที่นี่
Rapidshare
Mediafire





โครงการบันทึกเสียงเพลงประจำชาติ "ชุดโบราณ"

๑. ศรีอยุธยา (Sri Ayudhaya) ๐๗.๕๕
๒. ลาวคำหอม (Lao Kham Hom) ๐๗.๓๒
๓. มอญกละ (Morn-Kla) ๐๖.๕๗
๔. อัศวลีลา (Assawa-Leela) ๐๕.๒๓
๕. แขกขาว (Khaek Khow) ๐๙.๑๕
๖. ลาวดำเนินทราย (Lao Dum Noen Sai) ๐๙.๔๖
๗. พม่าประเทศ (Pha-ma Pra-tes) ๐๗.๐๘>

หยิบไปฟังได้ที่นี่
Rapidshare
Mediafire





โครงการบันทึกเสียงเพลงประจำชาติ "เพลงพระราชนิพนธ์"

1.Blue Day
2.When
3.Falling Rain
4.Near Dawn
5.Still on My Mind
6.H.M. Blues
7.Phra Maha Mongkon
8.Kinari Suite
9.No Moon
10.Royal Guard March

หยิบไปฟังได้ที่นี่
Rapidshare
Mediafire


อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับอัลบัมนี้และรายละเอียดของเพลงต่างๆ ได้ที่ บ้านน้าเพลงไทย เวปนี้รวบรวมไว้เยอะเลย และสามารถสั่งซื้อได้อีกด้วย



ขอให้มีความสุขกับการฟังเพลงค่ะ

และ

อย่าลืมอุดหนุนศิลปินบ้าง เมื่อมีโอกาสนะคะ ^^

[Thai Contemporary : 2 Album] ราตรีประดับดาว ๑ และ ๒

ห่างหายไปนานจากการโพสเพลง ทั้งๆ ที่อัพไว้นานแล้ว รวมทั้งที่ซื้อมาเก็บเอาไว้อีกเพียบ วันนี้นำเพลงไทยประยุกต์มาฝากกัน อัลบัมชุดราตรีประดับดาว นำเพลงที่เราคุ้นเคยมาเรียบเรียงใหม่ โดยเน้นไปทางเครื่องสี คือ ซอ โดยนายการเวก ใครพอจะรู้บ้างว่าตัวจริงคือใคร ขอทางว่าเป็น อ.ชัยภัคร ผิดถูกอย่างไร ใครทราบช่วยเฉลยหน่อยนะคะ





รายชื่อเพลง:
1 ราตรีประดับดาว
2 เขมรพวง
3 ลาวเจ้าซู
4 มยุราภิรมย์
5 พม่าประเทศ
6 ไทยน้อย
7 คลื่นกระทบฝั่ง
8 ลมพัดชายเขา
9 คางคกปากสระ
10 โยสลัม

หยิบไปฟังได้ที่นี่ Mediafire, Rapidshare (MP3 320 Kbps, RAR 104.69 MB
)





รายชื่อเพลง:
1 ลาวกระทบไม้
2 ลาวสมเด็จ
3 ตับพระลอ ภาค 1
(ลาวเล็กตัดสร้อย - ลาวเล่นน้ำ - ลาวกระตุกกี่ - ลาวกระแตเล็ก)
4 ตับพระลอ ภาค 2
(ดอกไม้เหนือ - ลาวเฉียงตัดสร้อย - ลาวครวญ - ลาวกระแซ
5 นกไซบินข้ามทุ่ง - ลาวรำดาบ

หยิบไปฟังได้ที่นี่ Mediafire, Rapidshare (MP3 320 Kbps, ZIP 80.02 MB)


เราจะฟังเพลงสนุกได้อรรถรสมากขึ้น ถ้าเราทราบประวัติที่มาความเป็นเป็นไปของเพลงเหล่านี้ ว่าแล้วเราไปดูกันเลยค่ะ

ประดับดาว ๑

๑ ราตรีประดับดาว (อัตรา ๓ ชั้น)
เพลงเถา เพลงนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ขึ้นจากเพลงเพลงมอญดูดาวสองชั้น ประเภทหน้าทับมอญ มี ๑๑ จังหวะ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยมีพระราชประสงค์ จะใช้หน้าทับปรบไก่ จึงได้เพิ่มทำนองครบตามจังหวะหน้าทับ พร้อมทั้งทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้นสำหรับขับร้องโดยเฉพาะ เพลงราตรีประดับดาวนี้เป็นเพลงแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ มีผู้เสนอตั้งชื่อเพลงนี้ถวายหลายชื่อ เช่น ดาวประดับฟ้า ดารารามัญ ฯลฯ ต่อมวงมโหรีหลวงได้นำเพลงนี้ไปบรรเลงกระจายเสียงที่สถานีวิทยุ ๗ พีเจ( HS 7 PJ) ณ ศาลาแดง โฆษกประกาศชื่อว่า " ราตรีประดับดาว " ซึ่งเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดขึ้นเอง จึงใช้ชื่อนี้ต่อมา เพลงนี้มีความหมายในเชิงความรักสดชื่น

๒ เขมรพวง (อัตรา ๒ ชั้น)
เพลงเขมรพวงสองชั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเพลงเขมรพระประทุมเป็นเพลงทำนองเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ท่อน ท่อน ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อน ๒ มี ๖ จังหวะ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) นำมาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยแต่งให้เป็นทางกรอ สำเนียงเขมร และให้เข้าคู่กับเพลงเขมรเลียบพระนคร ส่วนทำนองชั้นเดียวได้แต่งในเวลาต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ หมื่นประคมเพลงประสานใจ (ใจ นิตยผลิน) ได้แต่งตัดเป็นอัตราชั้นเดียว เป็นทำนองที่แตกต่างไปจากทางของหลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง) ส่วนทำนองร้อยชั้นเดียว นายเหมือน ดูรยประกิต เป็นผู้แต่ง นอกจากนี้ราว พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดให้จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งตัดในอัตราชั้นเดียว ครบเป็นเถา อีกทางหนึ่ง โดยให้มีทั้งทำนองเที่ยวต้นและเที่ยวเปลี่ยน เวลาบรรเลงและขับร้องจะดำเนินทำนองสองเที่ยว เพลงทางนี้ เมื่อรวมทั้งเถาทุกอัตราจังหวะ จะมีความยาวรวม ๑๒ ท่อน ทรงเขียนเป็นโน้ตสากล ประทานให้กองดุริยางค์ทหารเรือสำหรับบรรเลงวงโยธวาทิต

๓ ลาวเจ้าซู (อัตรา ๒ ชั้น)
เพลงนี้ไม่มีข้อมูล ทราบเพียงว่ามีการนำทำนองมาทำเพลงไทยสากลที่ขับร้องโดย ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ในเพลงที่ชื่อว่า “ หวงรัก ” คำร้องโดย สมศักดิ์ เทพานนท์

๔ มยุราภิรมย์
เพลงประกอบลีลาท่ารำ เรียกระบำนกยูง หรือระบำมยุราภิรมย์ เป็นระบำที่ใช้ประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอน " หย้าหรั่นได้นางเกนหลง " เป็นเพลงซึ่งไม่มีบทร้องประกอบ นายมนตรี ตราโมท แต่งทำนองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ประดิษฐ์ท่ารำ

๕ พม่าประเทศ
เพลงสำเนียงพม่า หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ แต่งเพื่อใช้ประกอบละครพันทางที่มีเนื้อเรื่องและตัวละครสัญชาติพม่า เพลงนี้ต่อมากรมประชาสัมพันธ์ได้เรียบเรียงทำนองสำหรับออกอากาศนำก่อนทำการเทียบเวลา ๐๘.๐๐ น. และ ๑๘.๐๐น.

๖ ไทยน้อย (อัตรา ๒ ชั้น)
เพลงทำนองเก่าในชุดระบำชุมนุมเผ่าไทย ซึ่งนายมนตรี ตราโมท แต่งในช่วงแรกเรียกว่าทำนองไทยน้อย ส่วนอีกทำนองหนึ่งบรรจุอยู่ในเพลงชุดประวัติศาสตร์ไทยซึ่งบรรจุในเพลงตามบททำนองเพลงนี้บรรจุไว้ในตับพระยาแกรก บทพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิประพันธ์พงศ์

๗ คลื่นกระทบฝั่ง (อัตรา ๒ ชั้น)
๑.เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ทำนองเก่า รวมอยู่ในเรื่องเพลงฉิ่งโบราณ มีเพลงฟองน้ำ เพลงฝั่งน้ำ และเพลงคลื่นกระทบฝั่ง บรรเลงติดต่อกัน สำหรับทำนองเพลงคลื่นกระทบฝั่งที่มีทำนองและเรียกชื่อในปัจจุบันนี้ เป็นเพลงที่มีลีลาเดียวกับเพลงฝั่งน้ำในเรื่องเพลงฉิ่งโบราณ สังคีตาจารย์ท่านหนึ่ง ได้นำทำนองเพลงฝั่งน้ำมาบรรเลงขับร้องครั้งแรกได้เรียกชื่อเพลงว่า คลื่นกระทบฝั่ง คนทั่วไปจึงเรียกชื่อตามจนกลายเป็นชื่อเพลงว่า " คลื่นกระทบฝั่ง " นับเป็นชื่อเพลงที่คลาดเคลื่อนจากทำนองเดิมตั้งแต่นั้นมา เพลงนี้ได้นำไปขับร้องและบรรเลงประกอบการแสดงโขนละครกันอย่างแพร่หลายนกจากนี้ยังได้บรรจุไว้ในเพลงตับวิวาห์พระสมุทร ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

๒. เพลงโหมโรง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำเพลงคลื่นกระทบฝั่งสองชั้นทำนองเก่ามาพระราชนิพนธ์เป็นเพลงโหมโรง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อใช้เป็นเพลงโรงเสภาและนับเป็นอันดับที่ ๓ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ ลีลาทำนองเพลงนี้ทรงสอดแทรกลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลี่ยมตลอดทั้งเพลงเพื่อให้เกิดความคึกคัก รุกเร้าอารมณ์ บรรยายธรรมชาติของคลื่นลมในทะเลอย่างกลมกลืน เพลงนี้ใช้กับหน้าทับสองไม้


๘ ลมพัดชายเขา (อัตรา ๒ ชั้น)
เพลงลมพัดชายเขาอัตราสามชั้นและสองชั้น เป็นเพลงทำนองเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนละ ๔ จังหวะ ในอัตราสองชั้น นิยมนำมาใช้ขับร้องในการแสดงละคร ต่อมามีนักดนตรีไม่ทราบนาม แต่งตัดในอัตราชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ นายมนตรี ตราโมท นำเพลงลมพัดชายเขา สามชั้นมาเรียบเรียงเป็นเพลงตับ เรียกว่า เพลงตับลมพัดชายเขา เป็นลักษณะตับเพลงมี ๔ เพลง โดยนำบทร้องจากบทละครต่างๆมีดังนี้

๑ เพลงลมพัดชายเขา ใช้บทร้องจากเรื่องอิเหนา

๒ เพลงลมหวน ใช้บทร้องจากเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน

๓ เพลงแขกมอญบางช้าง ใช้บทร้องจากเรื่องอิเหนา

๔ เพลงเหราเล่นน้ำ ใช้บทร้องจากเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน


เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานบทร้องแก่คณะเสริมมิตรบรรเลงทรงเลือกบรรจุเพลง ” ลมพัดชายเขาเถา ” นายเฉลิม บัวทั่ง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมวง จึงแต่งทำนองใหม่ตลอดทั้งเถา เพื่อบรรเลงถวายใช้๒ แบบคือ

- แบบแรกบรรเลงโดยใช้ทางเปลี่ยนที่แต่งใหม่เที่ยวแรกตามด้วยทางพื้น(ของเก่ษ) ในเที่ยวที่ ๒ ตลอดทั้งเถา

- แบบที่ ๒ บรรเลงโดยใช้ทางเปลี่ยนที่แต่งใหม่ทั้ง ๒ เที่ยวตลอดทั้งเถา เพลงนี้แต่งเสร็จเมื่อ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐

๙ คางคกปากสระ (อัตรา ๒ ชั้น)
เพลงอัตราจังหวะชั้นเดียวทำนองเก่า ใช้ประกอบการแสดงละคร เป็นเพลงที่มี ลีลา ทำนองและจังหวะกระชั้น รุกเร้า ชวนให้อารมณ์คึกคักสนุกสนาน เพลงนี้มีท่อนเดียว ส่วนในอัตราจังหวะสามชั้น หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งไว้ตั้งแต่สมัยเป็นจางวางศร เมื่อครั้งอยู่วังบูรพาใน พ.ศ. ๒๔๗๐ ส่วนทำนองทางร้อง คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลงแต่ง

๑๐ โยสลัม (อัตรา ๒ ชั้น)
เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ทำนองสำเนียงฝรั่ง ใช้ประกอบการแสดงละคร มาแต่โบราณ เพลงนี้ นายอุทิศ นาคสวัสดิ์ นำไปแต่งเป็นเพลงเถา เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ บางที่เรียกชื่อเพลงนี้ว่า โยสลัม


ประดับดาว ๑

๑ ลาวกระทบไม้
หรือเพลงลาวลอดค่ายสองชั้น สำเนียงลาว ใช้ประกอบการแสดงละคร และนำไปบรรเลงประกอบการรำ เช่น รำลาวกระทบไม้ เป็นต้น เนื้อร้องแต่งโดย ครูมนตรี ตราโมท เพลงนี้ใช้ขลุ่ยน้ำเต้าเป็นเครื่องดนตรีนำ

๒ ลาวสมเด็จ (อัตรา ๒ ชั้น) ร้องประสานเสียงโดย คุณ กนกพร ทัศนะ
เพลงลาวสมเด็จสองชั้น เป็นเพลงทำนองเก่า สำเนียงลาว ประเภทหน้าทับลาว มีท่อนเดียวเป็นเพลงเกร็ด เป็นเพลงเก่าที่นิยมบรรเลงในวงปี่พาทย์และเครื่องสายโบราณ ต่อมามีผู้นำไปบรรเลงประกอบการแสดงละคร เรือเอก ชิต แฉ่งฉวีได้แต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นและแต่งตัดเป็นอัตราชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา พร้อมทั้งแต่งทางเปลี่ยนในอัตราสองชั้นบรรเลงติดต่อกัน เพลงนี้แต่งเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เพลงนี้ นายเจริญ แรงเพ็ชร ได้แต่งขยายและแต่งตัดเป็นเพลงเถาไว้ทางหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ เมื่อครั้งที่มีการประชันวงปี่พาทย์ที่วัดห้วยจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ นายพินิจ ฉายสุวรรณ ยังได้นำมาแต่งขยายและแต่งตัดครบเป็นเพลงเถาอีกทางหนึ่งด้วย

๓ ตับพระลอ(ตับเจริญศรี) ภาค ๑
- ลาวเล็กตัดสร้อย เพลงลาวเล็กสองชั้น สำเนียงลาว ใช้ประกอบการแสดงละคร
- ลาวเล่นน้ำ เพลงลาวเล่นน้ำสองชั้น สำเนียงลาว หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ แต่งทำนองประกอบการแสดงละครและบรรจุไว้ในเพลงลาวเจริญศรี
- ลาวกระตุกกี่ เพลงลาวสามท่อนสองชั้น เป็นเพลงทำนองเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลาวกระตุกกี่ ต่อมาหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำทำนองมาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นและแต่งตัดเป็นชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา สำเร็จเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เรียกชื่อใหม่ว่า เพลงสาวเวียงเหนือ
- ลาวกระแตเล็ก เพลงกระแตเล็ก เป็นเพลงขับร้อง ทำนองเก่าของล้านนา เทียบทำนองเท่ากับเพลงอัตราสองชั้น เพลงนี้บางทีเรียกชื่อว่า เพลงกระแตตัวเมีย

๔ ตับพระลอ ภาค ๒
- ดอกไม้เหนือ เพลงเถา นายอุทัย แก้วละเอียด แต่งจากเพลงดอกไม้เหนือสองชั้น ซึ่งเป็นเพลงในตับลาวเจริญศรี เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๑๗ และได้นำออกบรรเลงครั้งแรก ณ โรงละครแห่งชาติเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๗ นอกจากนั้นนายเฉลิม บัวทั่ง ยังได้แต่งเพลงดอกไม้เหนือเถาขึ้นอีกทางหนึ่ง

- ลาวเฉียงตัดสร้อย เพลงลาวเฉียงสองชั้น สำเนียงลาว ใช้ประกอบการแสดงละครเป็นเพลงหนึ่งในตับลาวเจริญศรี

- ลาวครวญ เพลงเถา เพลงนี้ในอัตราสองชั้นเป็นทำนองเก่า เป็นเพลงท่อนเดียวมี ๔ จังหวะ ประเภทหน้าทับลาวเพลงตับในเรื่องพระลอและเพลงตับลาวต่างๆ นายถีร์ ปี่เพราะ ได้นำมาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นและแต่งตัดเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา ทั้งทำนองทางดนตรีและทางร้องเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยครั้งแรกที่แต่งผู้แต่งมีความประสงค์จะใช้บรรเลงด้วยวงอังกะลุง เพลงนี้นำออกแสดงครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๙๑ สำหรับบทร้องนำจากบทละครเรื่องพระลอพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต่อมานายเฉลิม บัวทั่ง ได้แต่งขยายและแต่งตัด ครบเป็นเพลงเถาอีกทางหนึ่ง เป็นทำนองดนตรี ส่วนทางร้องนางบุญชู ทองเชื้อ แต่ง

- ลาวกระแซ เพลงลาวกระแซสองชั้น ทำนองเก่าประเภทหน้าทับสองไม้ มี ๒ ท่อนสำเนียงลาว เพลงนี้เป็นเพลงสุดท้ายในตับลาวเจริญศรี นายเฉลิม บัวทั่ง ได้นำทำนองมาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นและแต่งตัดเป็นอัตราชั้นเดียว ครบเป็นเถาทั้งทำนองดนตรีและทำนองร้องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑

- ตับพระลอ ( ตับเจริญศรี) ประกอบด้วยเพลง เกริ่น ลาวเล็กตัดสร้อย ลาวเล่นน้ำ สาวกระตุกกี่ กระแตเล็ก ดอกไม้เหนือ ลาวเฉียง ลาวครวญ ลาวกระแช

๕ นกไซบินข้ามทุ่ง – ลาวรำดาบ
- นกไซบินข้ามทุ่ง เป็นลายเพลงทางภาคอิสานของเก่า ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ผู้แต่ง ที่จินตนาการถึงลีลาการบินของนกไซ(นกปากใหญ่) ที่มีลักษณะบินสูงสูงต่ำต่ำ เนื่องจากบินไม่ค่อยเก่ง โดยอาจารย์ทรงศักดิ์ ปทุมศิลป์ อาจารย์ประจำวิทยาลันนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด เป็นผู้นำมาเผยแพร่

- ลาวรำดาบ เพลงลาวรำดาบสองชั้นไม่มีบทร้อง นายมนตรี ตราโมท แต่งขึ้นใหม่ให้มีสำเนียงลาวสำหรับบรรเลงประกอบละครเรื่อง พญาผานอง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดน่านโดยใช้บรรเลงตอนหมู่เด็กประลองดาบกัน ละครเรื่องนี้นำออกแสดงครั้งแรก ณ โรงละครศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑

เพลงตับ หมายถึง เพลงที่บรรเลงเป็นเรื่อง มีแขนงย่อยแบ่งออกเป็น ตับเรื่อง และตับเพลง
๑. ตับเรื่อง มายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังแล้วรู้เรื่องโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนทำนองเพลงจะเป็นคนละอัตรา คนละประเภท หรือหมายถึง เพลงที่ร้องและบรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครที่เป็นเรื่อง เป็นชุด หรือเป็นตอน ตัวอย่างของเพลงตับเรื่อง เช่น ตับนางลอย ตับพระลอ(ตับเจริญศรี)
๒. ตับเพลง หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลง จะต้องมีสำนวนทำนองสอดคล้องต้องกัน คือ มีเสียงขึ้นต้นเพลงคล้ายๆ กัน คือ สำเนียงคล้ายๆ กัน เป็นเพลงในอัตราจังหวะเดียวกัน เช่น เป็นสองชั้นเหมือนกัน หรือสามชั้นเหมือนกัน ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ)

Credit: บ้านน้าเพลงไทย

[Album] วงหน่อไม้ Merry Angel Opus 5 : พญาลำพอง

อัลบัมที่ 5 ของวงหน่อไม้ แม้จะเป็นการนำเพลงไทยเดิมที่คุ้นหูมาทำใหม่ แต่ก็มีความแตกต่างอยู่ไม่น้อย บางเพลงก็ยังคงบรรเลงในแบบไทยเดิมล้วนๆ แต่บางเพลงก็เสริมเปียโนเข้าไป และเน้นเครื่องเคาะต่่างๆ มากกว่าปรกติ



วงหน่อไม้ The Merry Angel Opus 5 : Phya Lampong (พญาลำพอง)

Track list:
1. กระต่ายเต้น
2. พญาลำพองออกพม่ารำขวาน
3. ขับไม้บัณเฑาะว์
4. ลาวดวงเดือน
5. บุหลันลอยเลื่อน
6. สุโขทัยออกเทพทอง
7. ไทรโยค
8. ลาวจ้อย

หยิบไปฟังได้ที่นี่
Rapidshare
Mediafire

ดังนั้น...ถ้าเจอแผ่นแท้ เพื่อนๆอย่าลืมซื้อเพื่อเป็นการอุดหนุนศิลปินเหล่านี้ด้วยนะคะ

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

[Album] Bangkok Symphony Orchestra บรรเลง...สุนทราภรณ์

วันนี้ไปเดินร้าน CD อีกเช่นเคย ต้องได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาบ้าน แล้วก็ได้ชุดนี้ ปรกติจะมีเวปประจำที่จะมีคนใจดีมาแจกเพลงดีๆ ซึ่งคนใจดีคนนั้นก็ได้นำเพลงชุดนี้มาแจกนานแล้ว และตัวเองก็ได้ bookmark web ไว้แต่ยังไม่ได้ไปหยิบมาฟังเสียที จนวันนี้จะนำมาแจกบ้าง ค้นหารูปปกก็ไปเจอเข้า เลยขอหยิบรายละเอียดมาแจกต่ออีกทีค่ะ [Credit - SSS]

CD ชุดที่ว่านี้คือ Bangkok Symphony Orchestra บรรเลง...สุนทราภรณ์ พอมาค้นๆ รายละเอียดเข้า ถึงได้รู้ว่าพลาดช่วงเวลาอันสำคัญไปแล้ว เพราะมูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ ร่วมกับมูลนิธิสุนทราภรณ์ โดยความสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมด้วยคิงพาวเวอร์และสิงห์คอร์ปอเรชั่น จัดคอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ในวงการดนตรีของไทย รายการ “บีเอสโอบรรเลงสุนทราภรณ์(BSO Plays Suntaraporn)” เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ครูเอื้อ สุนทรสนาน และในวาระที่ UNESCO ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554 ไม่ได้ดูแสดงสด ได้ฟังจากแผ่นก็ยังดีวุ้ย





Photobucket

Photobucket

อัลบั้ม :: B S O Plays Suntaraporn :: บีเอสโอ บรรเลง สุนทราภรณ์
นักร้อง :: รวมนักร้อง
Symphony | MP3 VBR 320 kbps | 01:09:38 h | 15 Tracks | 159.38 MB


:: Track List ::

1. เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น :: ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
2. รักเอาบุญ :: นรอรรถ จันทร์กล่ำ
3. คิดถึง :: กรกันต์ สุทธิโกเศศ (อาร์ม-เคพีเอ็น)
4. ฝากหมอน :: สุภัทรา โกราษฎร์
5. กระซิบสวาท :: ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
6. นวลปรางนางหมอง :: นรอรรถ จันทร์กล่ำ
7. ถึงเธอ :: ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
8. ศกุนตลา :: สุภัทรา โกราษฎร์
9. พรานล่อเนื้อ :: กรกันต์ สุทธิโกเศศ (อาร์ม-เคพีเอ็น)
10. เพลงชุด จุฬาตรีคูณ
:: จ้าวไม่มีศาล / จุฬาตรีคูณ / ปองใจรัก / ใต้ร่มมลุลี / อ้อมกอดพี่ ::
:: ณัฏฐนรี มะลิทอง / สุบงกช ทองช่วง / เชี่ยวชาญ กิจสมบัติไชย / นรอรรถ จันทร์กล่ำ ::
11. ยอดดวงใจ :: เชี่ยวชาญ กิจสมบัติไชย
12. ยามร้าง :: สุภัทรา โกราษฎร์
13. พนาโศก :: นักร้องคลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์
14. ฟ้าคลุ้มฝน :: นรอรรถ จันทร์กล่ำ
15. Suntaraporn Suite :: บรรเลง

เชิญหยิบไปฟังได้ที่นี่

ติดตามข่าวสารของ Bangkok Symphony Orchestra ได้ที่ bangkoksymphony.org

ดังนั้น...ถ้าเจอแผ่นแท้ เพื่อนๆอย่าลืมซื้อเพื่อเป็นการอุดหนุนศิลปินเหล่านี้ด้วยนะคะ