วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

วงบอยไทย


"บอยไทย" เป็นวงดนตรีวงที่สองในสังกัดของบริษัทไพซิสมิวสิคต่อจากวง "กังสดาล" โดยการริเริ่มของคุณอัมพร จักกะพาก ผู้มีประสบการณ์อันยาวนานในการจัดแสดงดนตรีระดับชาติ อีกทั้งเป็นนักวิจารณ์นามปากกา "สีลม" ที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักฟังเพลง คุณอัมพรมีวัตถุประสงค์จะให้ไพซิสมิวสิคเป็นหน่วยงานเอกชนอิสระที่จะเผยแพร่ดนตรีไทยในประเทศ และต่างประเทศ และเพื่อสนับสนุนนักดนตรีอาวุโสให้ถ่ายทอดวิชาความรู้ไปจนถึงสร้างนักดนตรีไทยรุ่นใหม่เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพดนตรีไทย

ในปี พ.ศ. 2532 คุณอัมพรได้ริเริ่มตั้งวงกังสดาลโดยเชิญคุณครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ (ซึ่งต่อมาได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติปี 2536) มาเป็นผู้ควบคุมวงร่วมกับนักดนตรีปี่พาทย์รุ่นใหม่ฝีมือดีจากบ้านปี่พาทย์ครูสุพจน์ โตสง่า ซึ่งเป็นตระกูลดนตรีไทยที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษในด้านระนาดเอกมาช้านาน

ต่อมาในปี พ.ศ.2536 หลังจากที่นักดนตรีรุ่นใหม่ในวงกังสดาลได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการไปแสดงดนตรีต่างประเทศหลายครั้งเช่นที่ คานาดา ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ จึงมีความคิดที่จะฟื้นฟูดนตรีไทยให้กลับมาสู่สังคมไทยในปัจจุบันอีกครั้ง จึงมีการรวบรวมตัวกันระหว่างนักดนตรีทั้งฝ่ายไทยและสากล เพื่อนำสิ่งดี ๆ จากดนตรีทั้งสองขั้วมาประยุกต์เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ และบรรยากาศใหม่ให้กับวงการดนตรีไทย

วงบอยไทยมีผลงานออกมาแล้วทั้งหมด 3 ชุด


ทั้ง 3 อัลบั้มเป็นการนำเครื่องดนตรีปี่พาทย์มาพัฒนาการเล่น และการนำเสนอให้ทันสมัย และผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากลนับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บอยไทยสามารถลบล้างทัศนคติเดิม ๆ ที่คนเคยคิดเกี่ยวกับดนตรีไทยว่า "เชย" และ "น่าเบื่อ" ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ผลงานชุดแรกของวงบอยไทย ที่สร้างความ อือฮาให้กับวงการเพลงในบ้านเรานั้น ชื่อ SIMES SAMBA ในปี 2538 ภาพลักษณ์ความชัดเจนของ ดนตรีไทยคือ เครื่องดนตรี "ระนาดเอก" ที่เป็นหลัก และในปีนั้น ผลงานของวงบอยไทยได้ฉีกแนวสวน กระแสทางกลับของดนตรีส่วนใหญ่ในเมืองไทยและ วงบอยไทยก็ประกาศความสำเร็จ ด้วยการคว้า รางวัล สีสันอวอร์ด ( SEASON AWARDS ) ประเภทเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมจาก เพลง A DAY ON THE SODOE ISLAND
ปี พ.ศ. 2541 วงบอยไทยได้ออกผลงานชุด ANDAMAN SUN ออกมาให้คนไทยได้ฟังอีก ด้วย ความชัดเจนของดนตรีผสมผสานกับดนตรีตะวันตก ทำให้อัลบั้มชุดนี้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและในวงการ โฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะได้นำเพลงหลาย เพลงของวงบอยไทยไปออกเป็น SOUND ประกอบ รายการ และ SPOT โฆษณาหลาย ๆ ผลงาน เช่น เพลง BURMESE SALSA และเพลง ANDAMAN

หลังจากเงียบหายไป 2 ปี วงบอยไทยได้ กลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้ง กับอัลบั้ม SPICY BRAZIL ซึ่งกลุ่มผู้ฟังต่างเฝ้ารอดูการพัฒนาการ ของดนตรีอีกครั้ง และการออกอัลบั้มใหม่ชุดนี้ก็ไม่ ทำให้คนฟังผิดหวัง เมื่อเพลง TATOKUในอัลบั้มชุด นี้ก็การันตีถึงการพัฒนาของเพลงโดยการคว้าราง วัลสีสันอวอร์ด ( SEASON AWARDS ) อีกครั้ง

หลายเพลงใน 3 ชุดนี้ได้ถูกนำเผยแพร่สร้างชื่อเสียงในต่างประเทศหลายครั้ง จวบจนปัจจุบัน อีกทั้งได้รับเกียรติและความนิยมสูงสุด และอย่างไม่เสื่อมคลาย กล่าวคือ ถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบงานเผยแพร่ภาพลักษณ์ไทยทั้งในและต่างประเทศ เป็นเพลงประกอบการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเมืองไทย การท่องเที่ยวไทย เป็นเพลงประกอบการแสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย เป็นเพลงประกอบการสร้างบรรยากาศความเป็นไทยร่วมสมัยในงาน หรือ พิธีการต่าง ๆ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องแสดงถึงคุณค่าของงานเพลงดนตรีไทยร่วมสมัยในนาม "บอยไทย"

ตั้งแต่ปี 2544 เศกพล อุ่นสำราญ สมาชิกรุ่นก่อตั้งได้กลับมาร่วมงานกับวงบอยไทยอีกครั้ง โดยพกพาประสบการณ์มาเต็มเปี่ยมจากการร่วมงานกับศิลปินดัง ๆ มากมายในหลากหลายสไตล์เช่น "อินฟินิตี้" "บางกอกคอนเน็คชั่น" "ทีโบน" จนพร้อมที่จะมีผลงานของตัวเองชุดแรกในชื่อ "Mr. Saxman" ในปีพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นอัลบั้มแนวใหม่ที่มีกระแสตอบรับอย่างชื่นชม จนทำให้ฉายา "โก้ มิสเตอร์แซกแมน" เป็นที่รู้จักในฐานะมือแซ็กโซโฟนอันดับหนึ่งของประเทศไทย

อีกหนึ่งสมาชิกวงบอยไทยรุ่นก่อตั้งคนสำคัญที่ได้กลับมาร่วมงานกับทีมก็คือ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า ซึ่งต่อมาได้เป็นที่รู้จักและชื่นชมกันทั่วประเทศจาบท "ขุนอิน" ในภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" ทีมบอยไทยชุดปัจจุบันจึงมีความแข็งแกร่งด้วยประสบการ์ณของสมาชิกรุ่นก่อตั้ง ซึ่งเป็นสุดยอดฝีมือของทั้งดนตรีแจ๊ส และดนตรีไทย เสริมทัพด้วยนักดนตรีรุ่นใหม่ไฟแรงที่มาร่วมสืบสานอุดมการณ์ "บอยไทย" เพื่อให้ดนตรีไทยคงอยู่ตลอดไป

ปัจจุบัน "วงบอยไทย" เล่นอยู่ที่ร้าน โรงนาบางกอก THE MUSIC BARN ( สี่แยกเหม่งจ๋าย )



“Boy Thai….Live”



บันทึกการแสดงสดชุดแรกของวงบอยไทย เพื่อเป็นการต้อนรับของการกลับมาพบกันอีกครั้งของสองสมาชิกวงบอยไทยรุ่นก่อตั้ง เศกพล อุ่นสำราญ(โก้ มิสเตอร์แซ็กแมน) และณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า (ขุนอินแห่งภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง”) ท่านที่เคยชื่นชมผลงานของวงบอยไทยมาแล้ว นี่คืออรรถรสร่วมสมัยอีกมิติหนึ่ง ในบรรยากาศการแสดงสดครั้งแรกของวงบอยไทย เพลงเด่น : “เดี่ยวระนาดเพลงลาวแพนฉบับสมบูรณ์สุดฝีมือจากขุนอิน

“คอนเสิร์ตครั้งนี้ ขุนอินโชว์ลูกใหม่ไม่ได้ตีเลียดไปกับผืน แต่ตีโด่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนคนดูระทึกใจเมื่อ เห็นหัวไม้ระนาดหุ้มทองพุ่งขึ้นเหมือนกับไฟลุกที่ผืนระนาดจริงๆ โดยไม่ต้องใช้เทคนิคภาพยนตร์ช่วยเลย

track list:
1.Siamese Samba
2.ลาวดวงเดือน
3.เดี่ยวระนาดเอก
4.เพลงลาวแพน
5.พม่ากลองยาว
อัลบัมนี้ที่เคย upload ไว้ตายแล้ว ยังไม่ได้ทำใหม่เลยค่ะ ^_^ อดใจรอก่อนนะคะ

อันนี้จิ๊กของคนอื่นที่อัพไว้มาฝากไปพลางๆ ก่อน

Seven Drums

Spicy Brazil

The Third Hunter

Siamese Samba

Burmese Salsa

Burmese Long Drums

เพลงที่รวบรวมได้มาจากหลายๆ ที่ มันก็เลยปนๆ กันมีดังนี้นะคะ
- A Day on Sad island
- Andaman Sun
- Bat eats banana
- Burmese Long Drums
- Burmese Salsa
- Calypso
- GO-GO Rap
- J.J. Cha Cha Cha
- Lao Damnern Sai
- SevenDrums
- Siamese Samba
- Spicy Brazil
- The Third Hunter
เชิญหยิบไปฟังที่นี่ คุณภาพก็จะคละ bitrate นิดนึงนะคะ ^_^

รูปปกอัลบัมรวมต่างๆ

เครื่องสายไทยเดิม วงกอไผ่

วงกอไผ่ เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ที่หลงใหลในดนตรีไทยเหมือนกัน พวกเขามีกิจกรรมทางดนตรีร่วมกันหลายรูปแบบ และในโอกาสนี้ก็ได้รับเกียรติจาก อานันท์ นาคคง (หัวหน้าวง/ระนาด) อัษฎาวุธ สาคริก (ระนาด) เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี (ซอ) กฤษฏิ์ เลกะกุล (ขลุ่ย) และ ชัยภัค ภัทรจินดา (ฆ้อง/เรียบเรียง) มาบอกเล่าความทรงจำครั้งเก่า เรื่อยไปจนถึงก้าวย่างแห่งการอนุรักษ์งานดนตรีที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ลองฟังกันดูค่ะ

วงกอไผ่ - อัลบัมราตรีประดับดาว



เชิญโหลดที่นี่

อ.ชัยภัค กับ ซีรี่ส์แสนคำนึง

"ชัยภัค ภัทรจินดา" หรือที่คนฟังเพลงหลายต่อหลายคนรู้จักท่านในนาม "คุณนิค" เฉยๆ หรือบางครั้งก็ไปอยู่กับวงกอไผ่ ก็จะชื่อว่า "นิค กอไผ่" วงกอไผ่นี้ ถ้าเผื่อใครเคยดูหนังเรื่อง 'โหมโรง' ก็จะรู้ว่า ดนตรีประกอบในเรื่องนี้เป็นฝีมือของวงกอไผ่และตัวคุณนิคทั้งสิ้น โดยเฉพาะฉากของการบรรเลงร่วมกันระหว่างเปียโนและระนาดนั้น ความงามทางเสียงในฉากดังกล่าวยังติดอยู่ในหูอยู่เลย เช่นเดียวกับซีรี่ส์ ‘สี่แผ่นดิน’ ที่ดูทะแม่งๆในความเป็นละคร...ทะแม่งขนาดโดนเสียงดนตรีในเรื่องนั้นกลบกันหมดน่ะครับ ที่แน่ๆ เสียงซออันแสนหวานนั้นเป็นผลงานการสีของคุณนิคอีกแล้วเหมือนกัน

คุณนิคนั้นเป็นนักดนตรีที่รอบจัดอย่างยิ่ง คือถนัดทั้งดนตรีไทยเดิมและเก่งกาจในเรื่องของดนตรีต่างชาติ และอาจจะด้วยความไม่ยึดติดก็เลยทำให้งานเพลงของแกตรึงใจผู้ใหญ่รุ่นผมที่ขาดตอนกับการฟังเพลงไทยเดิมแท้ๆ เป็นอย่างยิ่ง เพราะท่วงทำนองหลายเพลง ถูกแกเอามาเรียบเรียงใหม่ พูดง่ายๆ ฟังอร่อย และเป็นอาหารหูได้ง่ายๆ กว่าเพลงไทยเดิมแท้ๆ ต้องบอกว่า อ.ชัยภัค เก่งในเครื่องดนตรีหลากหลายชนิดมาก นอกจากชีรี่ย์แสนคำนึงแล้ว ยังมีอีกหลายๆอัลบัม เช่น เส้นเสียงสำเนียงขิม, สายประสม และจินตนาการสยาม

ความจริงการทำงานเพลงในลักษณะนี้วงดนตรีฟองน้ำเคยทำมาก่อนแล้ว แต่หลังๆ ฟองน้ำก็ไม่ได้มีผลงานออกมาอีกเลย...ฟองน้ำนั้นหายไปขนาดที่ต้องบอกว่า งานเพลงของวงนี้นั้นกลายเป็นงานหายาก และกลายเป็นงานราคาแพงขึ้นมาเฉยเลย

งานในชุดแสนคำนึงนี้เป็นเพลงไทยเดิมที่บรรเลงผสมผสานกับดนตรีสากลได้ไพเราะอีกชุดนึงรู้สึกเหมือนกันมั๊ยว่า มีคนอยากฟังกันมาก แต่หาซื้อได้ยากบางทีกว่าจะรู้ว่ามีเพลงในลักษณะนี้ออกมาขาย พอไปถามหาที่ร้านก็บอกว่าหมดไปแล้วและไม่ทำอีกแล้ว เลยนำมาแบ่งกันฟังค่ะ

ไฟล์ที่อัพใน mediafile อัพไว้นานแล้วค่ะ ส่วนใหญ่ได้มาจากการ DL จะมี Bitrate ต่ำกว่าที่อัพใน rapidshare ที่ rip เองจากแผ่นนะคะ ^^

ชุดแสนคำนึง ชุดแรก

Track list
1.ชมแสงทอง
2.ลาวเสี่ยงเทียน
3.นกเขาขะแมร์
4.ญี่ปุ่นรำพึง
5.ยะวา
6.ปฐมดุสิต
7.ด้อมค่าย
8.ยาดเล้
9.แสนคำนึง 1
10.แสนคำนึง 2
เชิญโหลดที่นี่: Mediafire [74.76MB], rapidshare [256kbps, 103.3MB]

ชุดแสนคำนึง 2

Track Listing:
1.ลำนำเจ้าพระยา
2.ฝั่งโขง
3.ราตรีประดับดาว
4.สาลิกาแก้ว
5.โสมส่องแสง
6.บุหลันลอยเลื่อน
7.เขมรไทรโยค
8.ระบำดอกบัว
9.เขมรชมจันทร์
10.พระเจ้าลอยถาด
เชิญโหลดที่นี่: mediafire, rapidshare [256kbps, 93MB]

ชุดแสนคำนึง 3

Track Listing:
1.อธิษฐาน ๑ (Adore 1)
2.ชุดงามแสงเดือน ( Moonie Boogie)
3.ตารีกีปัส (Tari Kipus)
4.บังใบ (Bang Bai)
5.สร้อยแสงแดง (Magical Rooster)
6.แขกมอญบางขุนพรหม (Bangkhunprom Resonance)
7.ฟ้อนเงี้ยว (Tai dance)
8.พม่าปริศนา (Burmese Puzzle)
9.ชุมนุมเผ่าไทย (All Thai United)
10.อธิษฐาน ๒ (Reprise)[/color][/size][/font]
เชิญโหลดที่นี่: Mediafire [72.48MB], rapidshare [256kbps, 101.1MB]

แสนคำนึง ชุดพิเศษ (Beautiful Thailand)

Track Listing:
1.รุ่งอรุณ
2.สมิหลารำลึก
3.ทวิภาคี
4.เต้ยโขง
5.ป่า ฝน คน ขลุ่ย
6.ต้นวรเชษฐ์
7.กมผัด
8.บิวตี้ฟูล ไทยแลนด์
9.เขมรไล่ควาย
เชิญโหลดที่นี่:Mediafire [65.53MB], rapidshare [256kbps, 91.4MB]

ชอบอัลบั๊มไหนที่ยังพอหาซื้อได้นะคะ อย่าลืมช่วยกันอุดหนุนศิลปินด้วยนะคะ

ดนู ฮุนตระกูล และไหมไทย


วงไหมไทย หรือ ไหมไทย ออร์เคสตรา ก่อตั้งโดย ดนู ฮันตระกูล เป็นวงดนตรีที่นำเพลงไทยเดิม เพลงลูกกรุง และเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ มาเรียบเรียงเพื่อเล่นกับวงออร์เคสตรา โดยมีสรรพสำเนียงที่สวยงามชวนให้รำลึกถึงอดีตอันสวยงามของวิถีชีวิต บ้านเมือง และผู้คนในบรรยากาศครั้งเก่าก่อน


ผลโดยในงานช่วงแรกคือ ชีพจรลงเท้า/เขมรไทรโยค ทุ่งแสงทองและ ใต้แสงเทียน ยกเว้นผลงานชุดพิเศษ ลำนำแห่งขุนเขา ที่ทำร่วมกับจรัล มโนเพชร ผลโดยในงานช่วงที่สองคือ เงาไม้ รังสรรค์วันสวย และผลิใบ เริ่มมีเพลงร้องเข้ามาสร้างสีสรรค์เพิ่มความสวยงามในบทเพลงของไหมไทยในอีกมิติหนึ่ง โดยเพลงร้องส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียงของ สุภัทรา อินทรภักดี

นอกจากนี้แล้ววงไหมไทยยังได้มีผลงานชุดพิเศษออกมาอีกหลายชุดในโอกาส วาระต่างๆ เช่น เพลงนิทานกวีชุด หยดฝนกับใบบัว แม่ไม้เพลงไทยชุดสุนทราภรณ์ นิทานเพลงช้างกับเรือ เป็นต้น

ผลงานดนตรีของวงไหมไทย
- ไหมไทย ๑ ชีพจรลงเท้า/เขมรไทรโยค (2531)
- ไหมไทย ๒ ทุ่งแสงทอง (2531)
- ไหมไทย ๓ ใต้แสงเทียน (2532)
- ลำนำแห่งขุนเขา - จรัล/ไหมไทย (2531)
- ไหมไทย ๔ เงาไม้ (2533)
- หยดฝนกับใบบัว (เพลงนิทาน เพลงกวี) (2534)
- ไหมไทย รวมชุด
- รังสรรค์วันสวย (2534)
- ผลิใบ (2535)
- ปักษ์ใต้บ้านเรา
- แม่ไม้เพลงไทย - ชุดสุนทราภรณ์ (2533)
- นิทานเพลง ช้างกับเรือ - ดนู ฮันตระกูล, ไหมไทย, จำนงศรี รัตนิน
- เพลงตามคำขอ - ดนู ฮันตระกูล, ไหมไทย (บันทึกเสียง พ.ศ. 2533)



ผลงานส่วนตัว ในนาม ดนู ฮันตระกูล
- ทีเล่น ทีจริง (2537)
- เทียบเสียง (2539)
- A Stream Toward Stars (สายธารสู่ดวงดาว)
- เพลง The Light of Asia เพลงพิธีปิดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2541 ขับร้องโดย ทาทา ยัง
- เพลงบางกอก (2544) ร่วมกับ สุภัทรา อินทรภักดี, นรอรรถ จันทร์กล่ำ และ จุน โกมัตสึ
- ลมเหนือน้ำหนาว (2546) ร่วมกับ ประสานมิตรคอรัส และวงดนตรีทัศนา ของ ทัศนา นาควัชระ
- เมื่อดอกซากุระบาน (2548) ร่วมกับ สุภัทรา อินทรภักดี, นรอรรถ จันทร์กล่ำ และ จุน โกมัตสึ
- เสียงใบไผ่ (2549)
- ตามเพลงไหมไทย (2550)
- ไหมไทยคลาสสิก (2551)
- รวมเพลงไหมไทย(2551) [แผ่นคู่ - รวมเพลงจาก 6 ชุดล่าสุดตั้งแต่ เพลงบางกอกถึงไหมไทยคลาสสิก]

Reference:
1. Wikipedia
2. Dnunet

มาถึงช่วงแจกกันบ้าง 
Host เห็น mediafire ทั้งหมดค่ะ แก้ลิ้งค์ให้มีชีวิตหมดแล้วค่ะ

ไหมไทย

ไหมไทย ๑ ชีพจรลงเท้า (2531) เชิญโหลดที่นี่ (44.47MB) 

ไหมไทย ๒ ทุ่งแสงทอง (2531) เชิญโหลดที่นี่ (55.33MB) 

  ลำนำแห่งขุนเขา - จรัล/ไหมไทย (2531) เชิญโหลดที่นี่

  ไหมไทย ๓ ใต้แสงเทียน (2532) เชิญโหลดที่นี่  (50.06MB)

ไหมไทย ๔ เงาไม้ (2533) เชิญโหลดที่นี่ (45.66MB) 

ไหมไทย รวมชุด เชิญโหลดที่นี่

 photo mt05.jpg  รังสรรค์วันสวย (2534) เชิญโหลดที่นี่ (80MB)

maitai 3 photo untitled4.jpg
แม่ไม้เพลงไทยสุนทราภรณ์ (2533) เชิญโหลดที่นี่ (MP3/320 kbps, RAR/97.22 MB)


maitai 1 photo untitled.jpg

 ไหมไทยรื่นฤดี (2550) หยิบไปฟังได้ที่นี่ (MP3/320 Kbps, RAR/146.94 MB)


ไหมไทยหิรัญ (2552) : แผ่นที่ 1 (Part1, Part2) แผ่นที่ 2 (Part 1, Part2) (MP3, 320Kbp)


ไหมไทยเสน่หา (2553) หยิบไปฟังได้ที่นี่ Rapidshare, [MP3, 320kbps, 140MB]




ดนู ฮุนตระกูล


  ทีเล่นทีจริง (2538) เชิญโหลดที่นี่

 










 เทียบเสียง (2539) เชิญโหลดที่นี่















 เพลงบางกอก (2544) เชิญโหลดที่นี่








  ลมเหนือ น้ำหนาว (2546) เชิญโหลดที่นี่

 photo Supatra300.jpg  เมื่อดอกซากุระบาน (2548) เชิญโหลดที่นี่

  
 เสียงใบใผ่ (2549) เชิญหยิบไปฟังได้ที่นี่ [MP3, 320kbps, 98.04MB]


 photo followmaithai300.jpg
ตามรอยไหมไทย (2550) หยิบไปฟังได้ที่นี่ (MP3/320 Kbps, Zip/98.08 MB)

 photo Classic480.jpg
ไหมไทยคลาสสิก (2551) หยิบไปฟังได้ที่นี่ Part1, Part2




ขอให้มีความสุขกับการฟังเพลงค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552

เพลงไทยเดิม บรรเลงแบบเดิมๆ ว่าด้วยเดี่ยวขิม

ฟังแบบประยุกต์มาเยอะแล้ว มาฟังแบบไทยเดิมกันบ้างนะคะ
สองอัลบัมนี้ไม่มีรูปปกนะคะ

อัลบัมเดี่ยวขิม
01 ธรณีกรรแสง
02 ลาวเจริญศรี
03 ลมพัดชายเขา
04 แขกต่อยหม้อ
05 จีนขิมเล็ก
06 มอญอ้อยอิ่ง
07 เขมรไทรโยค
08 ลาวสวยรวย
09 เต่ากินผักบุ้ง
10 จีนเก็บบุปผา
11 แขกขาว
12 มอญมอบเรือ

เชิญโหลดที่นี่

เดี่ยวขิม ขับไม้บันเฑาะว์
track list:
01 ขับไม้บัณเฑาะว์
02 แขกสาหร่าย
03 แขกโหม่ง
04 จีนรัว
05 ลาวพุงขาว
06 อาเฮีย
07 นกขมิ้น
08 สตายงค์
09 มอญกละ
10 มอญโยนดาบ
11 ทะแยกลองโยน
12 พระเจ้าลอยถาด

เชิญโหลดที่นี่
Part1 Part2


ชอบอัลบั๊มไหนที่ยังพอหาซื้อได้นะคะ อย่าลืมช่วยกันอุดหนุนศิลปินด้วยนะคะ

Asean Records The Introductory Sampler





ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องพิมพ์ชื่อเป็นภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว รึไม่อยากให้คนไทยฟังก็ไม่รู้ แต่ว่าชุดนี้อัดมาได้ดีทีเดียวค่ะ (สตูที่อัดก็บอกว่าอัดมาดีมั่กๆ)

Track list:
1. มอญลุยแหลก (Mon-Lui-Laek)
2. พราหมณ์เข้าโบสถ์ (Brahma-Kaw-Bod)
3. ตระนิมิตร (Tra-Nimitra)
4. ลีลากระทุ่ม (Lee-La-Kra-Tum)
5. Univelsal Compassion
6. พระเจ้าลอยถาด (Pra-Chao-Loy-Thad)
7. จีนเก็บบุปผา (Chine-Keb-Bup-Pah)
8. มาร์ชลาวดวงเดือน (March Lao-Duang-Duen)
9. แขกเจ้าเซ็น (Kaek-Chao-Sen)
10. Chaul Chab
11. ระบำชาวไร่ (Farmer Dance)

เชิญโหลดที่นี่ mediafire, rapidshare

ว่าด้วยเพลงไทย backup โดย BSO ชุดเพลงไทยอมตะ และความฝันอันสูงสุด

เป็นเพลงไทยที่ไม่ได้เก่ามากเท่าไหร่ แต่คราวนี้ไม่มีปกนะคะ

ชุดความฝันอันสูงสุด โดย สันติ ลุนเผ่
เชิญโหลดที่นี่
เสียง opera ไทยที่ยังหาใครมาเทียบเท่าในบ้านเราไม่ได้ซักที เคยไปดูแกร้องเมื่อไม่นานมานี้เสียงยังไม่ตกเลยค่ะ

ชุดเพลงไทยอมตะ
1.บัวขาว
2.ฝันถึงเธอ
3.เงาไม้
4.วันเพ็ญ
5.ตาแสนกลม
6.ชายในฝัน
7.ขอพบในฝัน
8.จันเอ๋ย
9.รินเข้าริน
10.ในฝัน
11.เพลิน
12.ลมหวล
13.ฝากรักเอาไว้ในเพลง
14.สายทิพย์

เชิญโหลดที่นี่ Part1 Part2

file อาจจะใหญ่หน่อยนะคะ เพราะไม่อยากให้เสียคุณภาพ

ดังนั้น...ถ้าเจอแผ่นแท้ เพื่อนๆอย่าลืมซื้อเพื่อเป็นการอุดหนุนศิลปินเหล่านี้ด้วยนะคะ

วงหน่อไม้ อัลบัม หน่อไม้หลายชีวิต และ marry angel

จริงๆ บล็อคนี้อัพไว้นานแล้ว แต่หาข้อมูลของวงไม่ได้ วันนี้หาข้อมูลมาเพิ่มเติมได้ จึงขอรวบรวมเอาไว้ในฐานะแฟนเพลงไทยที่อยากอนุรักษ์ของไทยเอาไว้นะคะ ถ้าผิดพลาดประการใด comment ไว้ จะแก้ไขในภายหลังค่ะ

22/3/53



หน่อไม้เป็นวงเครื่องสายไทยที่เล่น (ซ้อม) กันทุกอาทิตย์ที่ชมรมดนตรีไทยของ UN ประกอบด้วยสมาชิกหลัก อ.ถวิล สุขสมโภชน์, อ.ณรงค์ เขียนทองกุล, พี่สมเกียรติ ศิริวานิชสุนทร, อ.บุญส่ง ธรรมวนิชย์, อ.ชายชาญ, ครูเส็น

ถ้าจะนับก็มี อ.บุญส่งที่เป็นอดีตสมาชิกวงกอไผ่ และ วงภุมรินทร์ แต่ในชุด หลายชีวิต ก็จะมีนักดนตรีรับเชิญที่มาจากกอไผ่คือ อ.ชัยภัค(นิค) และ อ.ทศพร (ตรี)

โดยชื่อวงหน่อไม้ คุณสมเกียรติเป็นคนตั้ง ซึ่งสมาชิกวงและเป็น producer อัลบั้มแรกของหน่อไม้ (เทพบันเทิง)

การอัดเสียงเป็นระบบ 2-track stereo


อัลบัม หน่อไม้หลายชีวิต

อัลบั้ม “หน่อไม้ หลายชีวิต” หรือ “All Walks of Lives” ผลงานที่ผสมผสานระหว่างนักดนตรีไทยนับสิบชีวิต ร้อง-บรรเลงและบันทึกกันแบบสดๆ ในฮอลล์ ขนาดใหญ่ ภายใต้กระบวนการควบคุมแบบเข้มข้นตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้ได้เสียงดนตรีที่ คงความไพเราะ และสดจนเสมือนบรรเลงอยู่ตรงหน้า

“อัลบั้มนี้เราอัดกันสดๆเพื่อให้ได้เสียงที่สมจริงที่สุดสตูดิโอหอประชุมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง โดยวงเครื่องสายระดับอาจารย์อย่างวงหน่อไม้ ซึ่งชุดแรก หน่อไม้ เทพบันเทิง ที่ได้ คุณสมเกียรติ ศิริวนิชสุนทร เป็นโปรดิวเซอร์ และเป็นหนึ่งในนักดนตรีในวงหน่อไม้ ชักชวนให้ผมมาบันทึกเสียง และทำมาสเตอร์อัลบั้มแรก ซึ่งก็ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์มากมาย ผมก็เลยชักชวนเพื่อนๆใน บริษัท ฮอท เฮาส์ มาสร้างผลงานภายใต้การควบคุมดูแลของบริษัทเองและชวนพี่สมเกียรติและนักดนตรีวงหน่อไม้มาร่วมทำปฐมอัลบั้มนี้ และก็ยังมี อาจารย์ ชัยภัค ภัทรจินดา จะมาช่วยออกความคิดริเริ่มให้ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีด้วยครับ”

“เราจึงตั้งใจ พิถีพิถัน ในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมงาน การบันทึกเสียง กระบวนการผลิตซีดีแผ่นทองเพื่อคุณภาพเสียงสูงสุดมาตรฐานสากลระดับออดิโอไฟล์ หรือการออกแบบสิ่งพิมพ์ เราอยากให้ผลงานเพลงไทยเดิมมรดกของไทยทุกคน ที่ถูกบรรเลงด้วยศิลปินชั้นครูนั้นสง่างาม เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพื่อความภาคภูมิใจทรงคุณค่าเชิงศิลปะอย่างแท้จริง สัมผัสรับรู้ความตั้งใจนี้ได้จากผลงานนี้ครับ” นพคุณ ทิพโกมุท กล่าว




แผ่นนี้คุณภาพการอัดระดับ Audiophile 24 bit/ 96 kHz Mastering

อัลบั้ม all walks of lives เองก็นับได้ว่าเป็น live to 2 tracks เหมือนกันแต่ดิบเข้าไปอีกคือใช้ไมค์ในการบันทึกเพียงแค่สองตัว วางไมค์ห่างๆในระยะกำลังฟังทั้งวง ซึ่งก็มีอีกหลายเทคนิคย่อยในแบบนี้ แต่ทุกเทคนิคก็ล้วนแล้วแต่ต้องการที่จะสร้างบรรยากาศ การรับฟังแบบ stereo ที่สมจริงเหมือนหูเราได้ยินนั่นเอง

Music in Album
1 Phram Deed Namtow
2 Lao Damnern Sai
3 Yad Le
4 Sood Sa-nguan
5 Pae
6 Jarakae Hang Yao
7 Phya Soke
8 Morn Morb Rua

เชิญโหลดที่นี่ Part1 Part2

อัลบัม marry angle





Music in Album
1 Tep Banterng
2 Kamen Chomjun
3 Lao Pan
4 Kaek Sarai
5 Lao Charoen Sri
6 Kaek Mon Bangkoonprom
7 Kamen Puang
8 Nok Kao Khmer
9 Kamen Saiyoke

เชิญโหลดที่นี่ Mediafire Part1 Part2 หรือ rapidshare

อดใจรอ Merry angle opus. 2 และ 3 ในเร็วๆ นี้ค่ะ ^^

credit เนื้อหาและวิจารณ์เกี่ยวกับวงหน่อไม้: thaikids, musicrec

ดังนั้น...ถ้าเจอแผ่นแท้ เพื่อนๆอย่าลืมซื้อเพื่อเป็นการอุดหนุนศิลปินเหล่านี้ด้วยนะคะ

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

เพลงกล่อมลูกชาวสยาม




แนะนำให้เก็บกันนะคะ เพราะว่าหายาก เจอก็รีบซื้อมาเก็บเลย เพราะคิดว่าถ้าปล่อยไปอาจจะไม่ได้เห็นอีก เป็นเพลงกล่อมลูกแบบโบราณของไทยเรา ที่เริ่มสูญหายไปเรื่อย ร้องเพียวๆเลยนะคะ ไม่มีดนตรีประกอบ

อัลบัมนี้มาจาก อาจารย์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำไว้ โดยได้อัดเสียงจากสถานที่จริง ฉะนั้น ลองฟังดีๆค่ะ บางแทรคมีเสียงเด็กวิ่งเล่นปนอยู่ด้วย ตัวอย่างเพลงประกอบด้วยนักร้องจากหลายพื้นที่ โดยเลือกจากช่างขับที่ได้รับรางวัลการประกวดเพลงกล่อมลูก จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล

Track list
ภาคกลาง เพลงกล่อมลูกภาคกลางเกี่ยวข้องกับนก ใช้เรื่องของนก ใช้นกเป็นตัวละคร
1 นกกาเหว่า
2 นกขมิ้น
3 นกเขา
4 ขนมเชียงมา
5 เจ้าขุนทอง
6 นกเอี้ยง
7 นกกาเหว่า
เชิญโหลดที่นี่

ภาคอีสาน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของแม่หม้าย การพลัดพรากและเป็นเรื่องราวในวรรณคดี
8 แม่หม้ายกล่อมลูก 1
9 แม่หม้ายกล่อมลูก 1
10 กล่อมลูกโคราช
เชิญโหลดที่นี่


ภาคเหนือ เพลงกล่อมลูกเรียกกันว่า “อื่อ” เรื่องราวส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน แม่สอนลุก สอนวีถีที่จะดำรงอยู่ในสังคม
11 กล่อมลูกล้านนา
12 พระคุณแม่
13 หน่อไม้
14 ลูกน้อยในอู่
15 นกกาเหว่า
เชิญโหลดที่นี่

ภาคใต้ เรียกว่าเพลงร้องเรือ ทำนองพื้นบ้าน มีรากมาจากสำเนียงพูด เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นคำสอน คำเปรียนเทียบ เรื่องราวในวรรณคดี เป็นการทำนองการ “ขับบท” ของโนราหรือหนังตะลุง
16 ราหูพระจันทร์
17 ไก่เถื่อน – พระอภัย
18 อาจิ๊มูกอปิตู แปลว่าลูกเปิดประตู
19 มูแซมาตอปิเราะ แปละว่าชะมดและนกฮูกจะมากินเด็ก
20 ซูซูลือเมาะมานิ – เจ๊ะแม๊ะเดวี - กาเย๊าะดีลอ แปลว่าน้ำนมอันอ่อนหวาน - เศรษฐีเลี้ยงลูก – ช้างป่า
เชิญโหลดที่นี่

Reference:จากเวป OkNation...กดที่นี่ ในนี้มีเนื้อเพลงอยู่ค่ะ

ดังนั้น...ถ้าเจอแผ่นแท้ เพื่อนๆอย่าลืมซื้อเพื่อเป็นการอุดหนุนศิลปินเหล่านี้ด้วยนะคะ

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

แสนแสบ phillharmonic orchestra (ไทยเดิมประยุกต์)

เป็นวง orchestra สัญชาติไทยแท้ที่นำเพลงไทยมาบรรเลงในหลากหลายรูปแบบให้เราได้ฟังกันค่ะ
มีเป็น series เลยทีเดียว กว่าจะตามหาได้จนครบก็เล่นเอาหืดขึ้นคอเลย...


อัพแก้ใหม่เป็น 320kbps หมดทุกอัลบัมแล้วค่ะ (19/8/56)


 photo ae1b.jpg
-ชุด ancient echo I
ชุดนี้บรรเลงออเครสต้าร่วมกับขิมและซอ

Track list:
1.ลาวดวงดอกไม้
2.เขมรละอององค์
3.ลาวดำเนินทราย
4.แขกมอญบางขุนพรหม
5.สีนวล
6.เขมรเขาเขียว
7.ทวาราวดี
8.มอญขว้างดาบ
9.มอญรำดาบ
10.ลาวสวยรวย
เชิญหยิบไปลองฟังที่นี่  Rapidshare


 photo Nostb.jpg
ชุด nostaglia
เป็นบรรเลงออเครสต้าร่วมดนตรีไทยและขับร้อง
Track list:
1. เขมรไทรโยค
2. ลาวเสี่ยงเทียน
3. ลาวดวงเดือน
4. นางครวญ
5. ราตรีประดับดาว
6. ลาวเจริญศรี
7. ลาวคำหอม
8. นกจาก (Thai Traditional Pitch)
9. นกจาก (E Major)
เชิญหยิบไปลองฟังที่นี่ Rapidshare


 photo keyb.jpg

ชุด The key to thai
เอาเพลงไทยมาบรรเลงในแบบออเครสต้า ร่วมกับกีตาร์ไฟฟ้า 
Track list:
1. Tantawan
2. Kub-Mai-Bun-Thor
3. Kang Kow Gin Kloey
4. Dern Pen
5. Gulab Pak-San
6. Khang Lhang Pap
เชิญหยิบไปลองฟังที่นี่ Rapidshare



4 regeion photo c3a8a067.jpg

ชุดสี่แผ่นดิน
อัลบัมเพลงประกอบละครสี่แผ่นดิน
นำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยล่าสุดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อปี พ.ศ. 2546
(นำแสดงโดย สิริยากร พุกกะเวส และ ธีรภัทร์ สัจจกุล กำกับโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล)

Track list:
๑ มยุราภิรมย์
๒ ลาวคำหอม
๓ ลาวดวงเดือน
๔ ราตรีประดับดาว
๕ ลาวคำหอม ( บรรเลง )

เชิญหยิบไปลองฟังที่นี่ Rapidshare


เจอแผ่นแท้...อย่าลืมช่วยอุดหนุนศิลปินบ้างนะคะ

Album The Jazz King เพลงพระราชนิพนธ์โดย Larry Carlton




The Jazz King

ศิลปินแจ็สระดับโลก "แลร์รี่ คาร์ลตัน" (Larry Carlton) อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาบรรเลงและขับร้องใหม่ในแนวแจ็ส เพื่อฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 ปีในปี 2550


นอกจากนี้ แลร์รี่ยังได้ชวนเพื่อนพ้องศิลปินแจ๊สแถวหน้ามาร่วมงานนี้ด้วยอย่าง Earl Klugh (เอิร์ล คลูห์) Nathan East (นาธาน อีส) Harvey Mason (ฮาร์วี่ เมสัน) Tom Scott (ทอม สก๊อต) และ Michele Pillar (มิเชล พิลล่า) มาร่วมทำงานโปรเจ็คพิเศษร่วมกันเพราะศิลปินเหล่านี้ซาบซึ้งถึงพระอัจฉริยภาพทางดนตรีแจ๊สขององค์ในหลวง พร้อมกันนั้น อัลบั้ม The Jazz King ชุดนี้ ยังมีการรวบรวมบทเพลงที่แลร์รี่ทำขึ้นเป็นพิเศษพิเศษขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งเพลงคือ "Celebration" เพื่อร่วมเฉลิมฉลองปีมหามงคลนี้โดยเฉพาะ ซึ่งรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายมูลนิธิโครงการหลวง
ดังนั้น...ถ้าเจอแผ่นแท้ เพื่อนๆอย่าลืมอุดหนุนนะคะ

Textรายชื่อเพลง
1. อาทิตย์อับแสง (Blue Day) feat. Abraham Laboriel Sr. & Jr. and Jeff Babko
2. แสงเทียน (Candelights Blue) feat. Nathan East & Harvey Mason
3. ชะตาชีวิต (H.M. Blues) feat. Nathan East & Harvey Mason
4. ยามเย็น (Love At Sundown) feat. Tom Scott & Greg Mathieson
5. Lullaby (ขับร้อง) feat. Michele Pillar
6. แสงเดือน (Magic Beams) feat. Nathan East & Harvey Mason
7. ไกลกังวล (When) feat. Abraham Laboriel Sr. & Jr. and Jeff Babko
8. ดวงใจกับความรัก (Never Mind The Hungry Men’s Blues) feat. Nathan East & Harvey Mason
9. แก้วตาขวัญใจ (Love Light In My Heart) feat. Earl Klugh
10. ค่ำแล้ว (Lullaby)
11. Celebration (บรรเลง) เพลงใหม่ล่าสุดจาก Larry Carlton แต่งใหม่เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 ปีในปี 2550


วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทนำ

ด้วยความที่ตัวชอบฟังเพลงบรรเลง ไม่ว่าจะเป็น Jazz หรือ Classic ทุกรูปแบบ รวมทั้ง Newage, Meditation จะเห็นว่ายิ่งรูปแบบหลังแล้วพบว่ามีดนตรีของจีนหรือญี่ปุ่นไม่น้อยที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน ทำให้มานั่งนึกถึงดนตรีไทยของเราที่มีเอกลักษณ์เป็นอย่างยิ่ง เพลงไทยเดิมถึงแม้จะน่าอนุรักษ์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเพลงที่ฟังตลอดได้ยาก จึงคิดว่าเพลงไทยประยุกต์จากนักดนตรีไทยของเราเองว่าน่ามี ลองเสาะหาพบว่ามีไม่น้อย พอได้ฟังแล้วก็รู้สึกว่าไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติใดๆ เครื่องดนตรีของไทยสามารถกลมกลืนไปกับท่วงทำนองดนตรีสากลได้อย่างเพราะพริ้ง

ลองฟังกันดูค่ะ แล้วจะหลงรักเลยทีเดียว

ปล.อาจสงสัยกันนะคะ ว่าทำไม เขียนและอัพโหลดได้เร็วมาก จริงๆแล้ว ตัวเองเคยโพสเพลงเหล่านี้ไว้ในที่ต่างๆ นานมาก ย้ำว่านานมากจริงๆ มากกว่าหนึ่งปี แต่ link ยังไม่ตาย กอปรกับเพลงเหล่านี้...ตอนที่ตัวเองอยากฟังก็หาเลือดตาแทบกระเด็น จึงอยากพอมีที่เสาะหาได้บ้าง แต่ไม่ได้สนับสนุนให้เป็นการแจกฟรีแต่อย่างใด เพียงแต่อยากให้ลองฟังกันดู เมื่อชอบแล้วอยากให้เสาะหาไว้ในครอบครอง เพราะบางอัลบัมการันตีว่าการอัดเสียงระดับ audiophile เลยทีเดียว และยังเพื่อการสะสมด้วยค่ะ